วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1




1. กฏหมาย  นิยาม  ''คำสั่ง  คำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งใช้บังคับบุคคลทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามโดยปกติแล้ว  ผู้นั้นต้องรับโทษ''

จอห์น  ออสติน.(2552). นิยามของคำว่ากฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.trueplookpanya.com [7 พฤศจิกายน 2555]. 

 2.ระเบียบ นิยาม ''แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ'' เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ

 ทีมงานพัฒนา The Thai Law.com.(2555). The Thai Law (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://rirs3.royin.go.th

[11 กรกฎาคม 2555]. 

3. คำสั่ง นิยาม ''บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น ''

ทีมงานพัฒนา The Thai Law.com.(2555). The Thai Law (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://rirs3.royin.go.th

[6 มิถุนายน 2555]. 

4. พระราชบัญญัติ นิยาม ''เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาทำหน้าที่ออกกฎหมายนี้ โดยผู้ที่สามารถจะเสนอร่างพระราชบั ญญัติให้รัฐสภาพิจารณา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร''

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม ๑๘.(2540).Thailand Junior Encyclopedia Project (ออนไลน์)   สืบค้นจากhttp://kanchanapisek.or.th[7พฤศจิกา2555]. 

5.     ดุลพินิจ  หมายถึง  
                             คำว่า ดุลพินิจ (อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด) ประกอบด้วยคำว่า ดุล  กับคำว่าพินิจ.  ดุล  แปลว่า เท่ากันเสมอกันเท่าเทียมกัน.  พินิจ แปลว่า การพิจารณา.  ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควรการพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม.คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน เช่นผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ  แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม.  เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ  
      อ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน  (ออนไลน์) สืบค้นจาก HTTP://WWW.ROYIN.GO.TH/TH/KNOWLEDGE/DETAIL.PHP?ID=3892   [9พฤศจิกายน 2555]. 

6.                         กฤษฎีกา 
                            คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
   อ้างอิง บทความกฏหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก  HTTP://WWW.THETHAILAW.COM/LAW21/LAW21.HTML  [9 พฤศจิกายน2555].

7.      กฎหมายตามเนื้อความ
            กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้คือ “ กฎหมายตามเนื้อความ” ได้แก่ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ

                     HTTP://CLASSROOM.HU.AC.TH/COURSEWARE/LAW2/HEAD.HTML ( 8 พฤศจิกายน 2555) 

8.      มาตรา หมายถึง บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับมาตรา   
      อ้างอิง พจนานุกรม แปลภาษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก
9.นิติรัฐ (Legal State)      นิติรัฐ หมายถึง รัฐที่ปกครองด้วย “กฎหมาย” ไม่ใช่ปกครองด้วย “อำนาจบารมี” กล่าวคือ ถือกฎหมายเป็นใหญ่ คนบังคับใช้กฎหมายเป็นรอง ต่างกับรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง เพราะรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง ก็ไม่แน่ว่า กฎหมายจะเป็นใหญ่หรือไม่ แต่ทั้งนี้ ทุกรัฐล้วนมีกฎหมายในการปกครองด้วยกันทั้งสิ้น จุดสำคัญอยู่ที่ว่า กรณีที่เป็นช่องว่างของกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าฝ่ายปกครองถือหลักว่า “เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ฝ่ายปกครองจะกระทำอะไรก็ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และในขณะเดียวกัน ถ้ามีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองยิ่งจะกระทำอย่างไรก็ได้แล้ว”
    อ้างอิง คุณสมชาย เหล่าพิทักษ์วรกุล. (2553).นิติรัฐ VS นิติธรร (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1442 [9 พฤศจิกายน 2555].

 10.สิทธิมนุษยชน    หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิที่มีกฎหมายรับรอง
  อ้างอิง ณัฐภูมินทร์  เพ่งสมบูรณ์. (2553). สิทธิมนุษยชนคืออะไร (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/365876 [9 พฤศจิกายน 2555].



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น