วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2




รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1. ประเด็นที่น่าสนใจ
          จากการที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมา ทุกๆประเด็นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจมี ดังต่อไปนี้
          1. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการ  ล่วงละเมิด  ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ  และโดยบุคคล  และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
          2. ส่งเสริมให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในการเมืองและจัดให้มีกฏหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมือง ภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธาราณะของชุมชน  รวมทั้งสนับสนุน การดำเนินการของกลุ่มประชาชน ที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สมารถแสดงความคิดเห็นเสนอความต้องการในพื้นที่
        
3.  ดูแลให้มีการปัฏิบติและบังคับการให้เห็นไปตามกฏหมายอย่างถูกต้อง  รวดเร็ว   เป็นธรรม  และทั่วถึงส่งเสริมการให้  การช่วยเหลือ  ให้ความรู้ทางกฏหมายแก่ประชาชน และจัดระบบงานราชการงานรัฐอื่นในกระบวนการยุติธรรม  ให้มีประสิทธิภาพ  โดยให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพส่วนร่วมในกระบวน  การยุติธรรม  และช่วยเหลือประชาชนทางกฏหมาย

2. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

          ส่วนที่        สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
          
มาตรา    12  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
          
หมวดที่     สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

          ส่วนที่    8    สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
          มาตรา 49  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง
 จัดให้อย่าง  ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ใน  สภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
          มาตรา 50   บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน 

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

              1. รัฐสภา  เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
              2. 
สภาผู้แทนราษฎร   เช่น  สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน  ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร  บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง  คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
             3. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา  เช่น  บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
             4.วุฒิสภา  เช่น  วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน   คุณสมบัติใดบ้างที่สามรถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
              5. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ  เช่น  บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ  ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

4.  ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

              รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบใดก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขต จัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือในการกำกับแนวปฏิบัติของรัฐ ผู้ปกครองและประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้และทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

             การที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดิฉันคิดว่าไม่เห็นด้วย เพราะ การทีรัฐบาลมีความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นก็เพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายข้อบังคับที่สามารถช่วยให้บุคคลคนหนึ่งที่ทำผิดกฎหมาย โดยลงไม่โทษใดๆทั้งสิ้น  และพ้นจากความผิดที่ตนได้กระทำไว้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนบางกลุ่มออกมาคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ  เพราะประชาชนกลุ่มนี้ได้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์จากการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ   ประชาชนกลุ่มนี้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อต้องการให้คนที่ทำผิด ได้รับการลงโทษเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับคนอื่น คนผิดย่อมได้รับการลงโทษมิฉะนั้นสังคมก้อจะไม่เป็นปกติสุข

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3  อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน  และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา   สภาผู้แทนราษฎร  สภานิติบัญญัติมีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่อย่างไร   มีความมั่นคงที่จะความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่  ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

               ในปัจจุบันอำนาจทั้ง 3 อำนาจกำลังประสบกับปัญหาเรื่อง  การคอรัปชั่นของรัฐ   การบริหารบ้านเมืองอย่างไม่มีประสิทธิภาพ   ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่างๆต่อประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดังกล่าวควรทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความยุติธรรม ไม่แบ่งแยกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระคุณต่อปวงประชาชนชาวไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1




1. กฏหมาย  นิยาม  ''คำสั่ง  คำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งใช้บังคับบุคคลทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามโดยปกติแล้ว  ผู้นั้นต้องรับโทษ''

จอห์น  ออสติน.(2552). นิยามของคำว่ากฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.trueplookpanya.com [7 พฤศจิกายน 2555]. 

 2.ระเบียบ นิยาม ''แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ'' เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ

 ทีมงานพัฒนา The Thai Law.com.(2555). The Thai Law (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://rirs3.royin.go.th

[11 กรกฎาคม 2555]. 

3. คำสั่ง นิยาม ''บอกไว้เพื่อให้ทําหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น ''

ทีมงานพัฒนา The Thai Law.com.(2555). The Thai Law (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://rirs3.royin.go.th

[6 มิถุนายน 2555]. 

4. พระราชบัญญัติ นิยาม ''เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาทำหน้าที่ออกกฎหมายนี้ โดยผู้ที่สามารถจะเสนอร่างพระราชบั ญญัติให้รัฐสภาพิจารณา ได้แก่ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร''

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม ๑๘.(2540).Thailand Junior Encyclopedia Project (ออนไลน์)   สืบค้นจากhttp://kanchanapisek.or.th[7พฤศจิกา2555]. 

5.     ดุลพินิจ  หมายถึง  
                             คำว่า ดุลพินิจ (อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด) ประกอบด้วยคำว่า ดุล  กับคำว่าพินิจ.  ดุล  แปลว่า เท่ากันเสมอกันเท่าเทียมกัน.  พินิจ แปลว่า การพิจารณา.  ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควรการพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม.คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน เช่นผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ  แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม.  เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ  
      อ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน  (ออนไลน์) สืบค้นจาก HTTP://WWW.ROYIN.GO.TH/TH/KNOWLEDGE/DETAIL.PHP?ID=3892   [9พฤศจิกายน 2555]. 

6.                         กฤษฎีกา 
                            คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
   อ้างอิง บทความกฏหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก  HTTP://WWW.THETHAILAW.COM/LAW21/LAW21.HTML  [9 พฤศจิกายน2555].

7.      กฎหมายตามเนื้อความ
            กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง กฎหมายซึ่งบทบัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้คือ “ กฎหมายตามเนื้อความ” ได้แก่ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ

                     HTTP://CLASSROOM.HU.AC.TH/COURSEWARE/LAW2/HEAD.HTML ( 8 พฤศจิกายน 2555) 

8.      มาตรา หมายถึง บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับมาตรา   
      อ้างอิง พจนานุกรม แปลภาษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก
9.นิติรัฐ (Legal State)      นิติรัฐ หมายถึง รัฐที่ปกครองด้วย “กฎหมาย” ไม่ใช่ปกครองด้วย “อำนาจบารมี” กล่าวคือ ถือกฎหมายเป็นใหญ่ คนบังคับใช้กฎหมายเป็นรอง ต่างกับรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง เพราะรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง ก็ไม่แน่ว่า กฎหมายจะเป็นใหญ่หรือไม่ แต่ทั้งนี้ ทุกรัฐล้วนมีกฎหมายในการปกครองด้วยกันทั้งสิ้น จุดสำคัญอยู่ที่ว่า กรณีที่เป็นช่องว่างของกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าฝ่ายปกครองถือหลักว่า “เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ฝ่ายปกครองจะกระทำอะไรก็ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และในขณะเดียวกัน ถ้ามีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองยิ่งจะกระทำอย่างไรก็ได้แล้ว”
    อ้างอิง คุณสมชาย เหล่าพิทักษ์วรกุล. (2553).นิติรัฐ VS นิติธรร (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1442 [9 พฤศจิกายน 2555].

 10.สิทธิมนุษยชน    หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิที่มีกฎหมายรับรอง
  อ้างอิง ณัฐภูมินทร์  เพ่งสมบูรณ์. (2553). สิทธิมนุษยชนคืออะไร (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/365876 [9 พฤศจิกายน 2555].